สาระน่ารู้ ติดต่อเรา , 081-8674214 , 081-4676515

l     

    สาระน่ารู้ในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสม 

                  การเลือกขนาดแอร์ที่เหมาะสมกับบ้านนั้นเป็นอีกทางนึงที่ช่วยประหยัดเงินได้มาก ถ้าไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุณภูมิ ความร้อน ความเย็นของบ้านอย่างมืออาชีพแล้ว หลายคนก็ต้องตัดสินใจ เพิ่มเงินขึ้นอีกหน่อยซื้อแอร์ใหญ่กว่าพื้นที่ห้องเพื่อเผื่อไว้ ซึ่งไม่ถูกต้องแต่ถ้าหากว่าได้ซื้อแอร์ในขนาดที่เหมาะกับห้องก็จะประหยัดเงินขั้นแรกได้ แล้วเพราะไม่ต้องจ่ายตังค์เกินความจำเป็น และยังประหยัดเงินในระยะยาวอีกด้วยเพราะจะได้ไม่ต้องเปลืองเงินไปกับค่าไฟ ที่เพิ่มขึ้นมาจากการทำงานหนักของแอร์เกินความจำเป็นในห้องขนาดเล็กแอร์ที่มีขนาดใหญ่ไม่ใช่จะดีเสมอไปและอันที่จริงแล้วเครื่องปรับอากาศที่ ใหญ่เกินไปสำหรับห้องก็ไม่ทำให้ห้องเย็นอย่างที่ควรจะเป็นได้ คุณรู้มั้ยว่า เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดพอเหมาะกับห้องนั้นรักษาอุณหภูมิและความเย็นของ ห้องได้คงที่กว่าเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ เพราะถึงคุณจะปิดๆ เปิดๆแอร์เครื่องใหญ่ก็กินไฟากกว่าเครื่องเล็กที่เปิดออนตลอด แอร์ที่เปิดเป็นเวลานานในระดับการทำงานที่เบากว่ายังลดความชื้นของห้องได้ ด้วย ซึ่งแน่นอนว่า ทำให้ห้องเย็นขึ้นไปอีกผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปรับอากาศให้คำแนะนำเกี่ยวกับขนาดเครื่องปรับ อากาศที่เหมาะสมกับบ้านว่า ถ้าหากไม่รู้ว่าขนาดเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมกับขนาดห้องที่อยากติด อย่าซื้อให้ปรึกษาช่างผู้เชี่ยวชาญก่อน

ค่าความสามารถในการทำความเย็น จะใช้ British Thermal Units หรือ BTU ต่อชั่วโมง ซึ่งห้องส่วนใหญ่ก็จะมีเครื่องปรับอากาศที่มีค่า BTU อยู่ระหว่าง 9000 – 60000 BTU ตารางข้างล่างนี้จะช่วยบอกว่าจะเลือกแอร์ที่มี BTU ขนาดเหมาะสมกับห้องยังไง
อันนี้เอาไว้เป็นตัวช่วยพิจารณา

  • ถ้าห้องที่ทึบแสงมากๆ, คุณก็สมารถเลือกเครื่องปรับอากาศที่มี BTU น้อยลงได้ เพราะห้องทึบมากจะลดการทำงานของแอร์ไปได้ 10%
  • ถ้าห้องที่ร้อนเพราะแดดส่องถึง หรือโดนแดดส่องเป็นประจำ คุณก็ควรเพิ่ม BTU อีก 10%
  • ถ้าปกติห้องมีคนอยู่มากกว่า 2 คนก็ให้ตีเพิ่มไปเป็น คนละ 600 BTU แล้วคำนวณ
  • ถ้าห้องครัว ก็เพิ่มไปอีก 4000 BTU/ ชม.

ตัวเลขเหล่านี้ใช้สำหรับแอร์ติดห้องแต่แนะนำให้เชคกับคนติดตั้งที่ชำนาญ ด้วยให้ช่วยเลือกขนาด BTU ที่เหมาะสม และให้คำนึงถึงเทคนิคที่เราบอกด้วยเช่น ผนังกันความร้อนได้มั้ย หน้าต่างมืดมั้ย ร่มมั้ย หรือแม้แต่ม่าน มีตัวสะท้อนความร้อนหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยลดขนาด BTU ของแอร์ได้ 

  สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับการรับประกันแอร์ในฤดูฝน 

                นอกจากอากาศร้อนที่ตอนนี้เป็นเรื่องที่เคยชินกับคนไทย เรายังต้องยอมรับว่าฤดูฝนของคนไทยนั้นก็รุนแรงไม่แพ้กับอากาศร้อนเลยทีเดียว  บางครั้งก็มีฟ้าผ่าจึงอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เครื่องปรับอากาศของคุณต้องเสียหาย  เนื่องจากระบบขัดข้องหรือไฟฟ้าลัดวงจร  วันนี้เราจึงมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการรับประกันเครื่องปรับอากาศมานำเสนอเพื่อให้ได้กันบรืการที่ดี และซ่อมแซมจุดที่เสียหายได้ตรงจุด  ยกตัวอย่างเช่นนาย ก. ซื้อแอร์ mitsubishi Mr.Slim มาได้สามเดือนและเครื่องหยุดทำงานหลังจากโดนฟ้าฝ่า  สิ่งที่เขาควรทำมีดังต่อไปนี้

  1. เมื่อมีการรายงานไปทางศูนย์เครื่องปรับอากาศ หรือร้านที่ซื้อ  ควรแจ้งข้อมูลที่เป็นจริง  ว่าเครื่องปรับอากาศหยุดทำงานหลังพายุหรือฟ้าผ่าหรือไม่  อย่าใส่การคาดเดาและความรู้สึกลงไป  แจ้งแต่ความจริงเท่านั้น
  2. อ่านใบรับประกันและคู่มือ และตกลงกับผู้ขายตั้งแต่ซื้อใหม่  ถึงกรณีที่เราสามารถใช้การรับประกันได้โดยไม่เสียค่าใช้ช่ายเพิ่มเติม  นอกจากจะช่วยในการรับประกันแล้ว  ยังสามารถทำให้คุณทราบระบบการทำงาน  และสามารถดูการซ่อมแซมจากทีมช่างโดยไม่ถูกเอาเปรียบ
  3. เมื่อแจ้งการเสียหาย  ควรระบุรุ่น ขนาด และรหัสบนตัวเครื่อง และอาการเสียหายที่เกิดจากพายุ หรือฟ้าผ่า เพื่อคำแนะนำและการแก้ปัญหาตรงจุด

  เพราะเครื่องปรับอากาศเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทและสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน  ดังนั้นหากว่าเครื่องปรับอากาศเสียหาย หรือหยุดทำงานจากสาเหตุต่างๆโดยเฉพาะจากพายุและฟ้าผ่าคงจะทำให้คุณไม่ได้รับ ความสะดวกสบายเท่าที่ควร  ดังนั้นการที่คุณป้องกันไว้อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยการปิดระบบเครื่อง ปรับอากาศในวันที่มีฝนฟ้าคะนองเพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลากับการ ซ่อมแซม และค่าใช้จ่ายที่อยู่นอกเหนือการรับประกัน

 

การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ 

การใช้เครื่องปรับอากาศในประเทศไทยต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองที่มีฝุ่นมาก ทำให้ฝุ่นเกิดอุดตันในครีบแผงคอยล์ได้เร็วขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุให้แอร์ไม่เย็น น้ำรั่ว และเปลืองไฟ  เพื่อให้เครื่องปรับอากาศทำงานเต็มประสิทธิภาพและมีอายุการใช้งานยาวนาน มีประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงานไฟฟ้าตลอดเวลา จึงควรหมั่นดูแลบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอมีข้อแนะนำโดยทั่วไปเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาดังนี้

  1. หมั่นตรวจสอบ และทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศของหน่วยภายใน (Fancoil Unit) ทุก ๆ 2 สัปดาห์
  2. หมั่น ทำความสะอาดแผงคอยล์ (Evaporator Coil) ของหน่วยภายใน (Fancoil Unit) ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อให้เครื่องทำความเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
  3. ทำความ สะอาดพัดลมส่งลมเย็น ด้วยแปรงเล็ก เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่จับกันเป็นแผ่นแข็งและติดตามซี่ใบพัด ทุก ๆ 6 เดือน จะทำให้ พัดลมส่งลมเย็นได้ตลอดเวลา
  4. ทำความสะอาดหน่วยภายนอก (Condensing Unit) โดยใช้ปั๊มน้ำแรงดันสูงฉีดล้างทำความสะอาด 6 เดือน / ครั้ง เพื่อให้เครื่องสามารถนำความร้อน ภายในห้องออกไปทิ้งให้แก่อากาศภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. มอเตอร์ พัดลมทั้งหน่วยภายใน (Fancoil Unit) และ หน่วยภายนอก (Condensing Unit) ต้องมีการตรวจ เช็คทุก ๆ 6 เดือน และทำการหล่อลื่นโดยการอัดจาระบีหรือหยอดน้ำมัน อย่างสม่ำเสมอ
  6. ตรวจดูถาดน้ำทิ้ง ทำความสะอาดเพื่อให้การไหลของน้ำทิ้งเป็นไปอย่างสมบูรณ์
  7. ตรวจดูทิศทางลมเข้าออกของหน่วยภายใน (Fancoil Unit) ต้องไม่มีวัสดุปิดขวางทางลม
  8. ตรวจสอบ และซ่อมแซมฉนวนท่อน้ำยาที่ต่อระหว่างหน่วยภายนอก (Condensing Unit) และหน่วยภายใน (Fancoil Unit) ไม่ให้เกิดการฉีกขาด
  9. ตรวจสอบหน้าต่างและประตูว่ามีรูรั่วทำให้อากาศร้อนจากภายนอกเข้าสู่อาคารหรือไม่
  10. หากปรากฏว่าเครื่องไม่เย็นเพราะ สารทำความเย็นรั่วต้องรีบหารอยรั่วแล้วทำการแก้ไขโดยการเชื่อมท่อน้ำยา พร้อมเติมน้ำยาให้เต็มระบบ โดยเร็ว เพราะแอร์จะใช้พลังงานไฟฟ้าโดยไม่ทำให้เกิดความเย็นแต่อย่างใด
  11. ติดต่อช่างบริการที่ชำนาญและเชื่อถือได้เพื่อตรวจสอบเครื่องปรับอากาศอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  
สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่โทร.

081-8674214
081-4674215
ID Line:@vpp4420u
(อย่าลืมใส่ @ )
เพิ่มเพื่อน
 

Visitors: 397,128